หน่อไม้มีกี่ชนิด มาทำความรู้จักชนิดที่นิยมทานกัน

หน่อไม้มีกี่ชนิด มาทำความรู้จักชนิดที่นิยมทานกัน

              หน่อไม้เป็นผลผลิตจากต้นไม้ เป็นพืชที่เรารับประทานกันมาเนินนาน นำมาประกอบอาหารหลายเมนู และในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือทางอีสานรวมถึงภาคเหนือก็มักเอามาทำอาหารทานกัน เพราะในแถบภูมิภาคเหล่านั้นจะมีไผ่อยู่เยอะกว่าที่อื่นๆ ทั้งขึ้นเองตามธรรมชาติและปลูกไว้เอง วันนี้เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าหน่อไม้มีกี่ชนิด หน่อไม้เป็นหน่ออ่อนของต้นไผ่ ซึ่งไผ่แต่ละชนิดก็ให้หน่อที่มีรสชาติต่างกันและแต่ละชนิดก็มีขนาดกับน้ำหนักต่างกัน หน่อบางชนิดให้หน่อดกตลอดปี บางชนิดให้หน่อใหญ่ แต่บางชนิดก็ให้หน่อที่มีรสขม หากใครสงสัยว่าหน่อไม้มีกี่ชนิดเราคงต้องบอกว่าพันธุ์ไผ่ในประเทศไทยนั้นมีมากกว่า 200 ชนิด เราจึงหยิบยกหน่อไม้ชนิดที่ให้หน่อรสชาติดีมาให้รู้จักกัน 3 ชนิดจ้า

  • ไผ่จีนปักกิ่ง

ไผ่จีนปักกิ่งเป็นไผ่ที่ไม่มีหนาม แขนงด้านล่างจะน้อย ใบใหญ่ บังแดดได้ดี ลำต้นตรงค่อนข้างใหญ่มีสีเขียวอมเหลือง มีความสูงตั้งแต่ 6 – 10 เมตร ภายในกลวงตลอดต้น ไผ่จีนปักกิ่งเติบโตได้ดี โตไว ชอบปุ๋ยคอก ใส่ปุ๋ยคอกบำรุงจะทำให้ต้นงาม หน่อดก ให้หน่อดกรสชาติอร่อย ให้หน่อที่น้ำหนักเยอะขนาดใหญ่ ยิ่งก่อมีอายุมากก็ยิ่งให้ผลผลิตที่ใหญ่ตามไปด้วย หน่อไม้ของไผ่ชนิดนี้เมื่อนำมาทำอาหารให้ให้รสที่อ่อนนุ่ม หน่อกลวงแต่มีรสอร่อย เนื้อหน่อไม้จะมีเส้นหยาบหน่อยๆ รสชาติเมื่อต้มแล้วจะดีกว่าหน่อสดที่จะมีรสขม

  • ไผ่กิมซุง

ไผ่กิมซุงหรืออีกชื่อคือไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่ ลำปล้องจะนูนเด่นเห็นชัด ลำจะเงาเป็นมันและไม่มีขน หน่อไม้ของไผ่กิมซุงจะมีขนาดใหญ่ น้ำหนักดีอยู่ระหว่าง 3 – 5 กิโลกรัม แม้ในช่วงฤดูร้อนแล้งน้ำไผ่กิมซุงก็ยังแตกหน่อให้ได้รับประทานกัน เป็นพันธุ์ไผ่ที่ให้หน่อดกมาก จะปลูกไว้รับประทานเองหรือปลูกไว้เพื่อขายก็ได้ หน่อจะมีรสชาติออกหวานกรอบ ติดรสขมขื่นปนมาเล็กน้อยและมีเสี้ยนน้อย จะนำมาทำเมนูอาหารอะไรก็กรอบอร่อย

ไผ่เลี้ยงเป็นไผ่ที่มีขนาดกลาง ลำต้นตรงสวย เนื้อลำจะค่อนข้างหนาและเปลือกต้นมีสีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม ไม่ต้องคอยตัดแต่งกินให้ยุ่งยาก ตัวกาบใบไม่มีขนอ่อนๆปกคลุม หน่อไม้จะมีสีเขียวอมเหลือง ในช่วงที่ไผ่เลี้ยงจะให้หน่อไม้ก็คือช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน หน่อที่พร้อมเก็บจะมีขนาด 25 – 40 เซนติเมตร  นิยมตัดหน่อที่อยู่ใกล้โคนลำ เพื่อให้หน่อที่อยู่รอบนอกเติบโตเป็นลำต้นต่อไป

สาระพันธุ์ไม้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *