มะเม่าหลวงภูพาน ทำความรู้จักผลไม้ให้ประโยชน์มากมาย

มะเม่าหลวงภูพาน ทำความรู้จักผลไม้ให้ประโยชน์มากมาย

              สมุนผลไม้อย่างมะเม่าที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสายพันธุ์มะขามป้อม ผลไม้สมุนไพรที่มีหลากหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์โดเด่นก็มีอย่าง มะเม่าหลวงภูพาน หรือชาวอีสานเรียกกันว่าหมากเม่า และยังมีสายพันธุ์อื่นๆรวมไปถึงชื่อเรียกทองถิ่นอื่นๆอีกด้วย อาธิเช่น หมากเม้า บ่าเหม้า ภาษาเหนือ, หมากเม่า ภาคอีสาน,  มะเม่า ต้นเม่า ภาคกลาง ฯลฯ และอีกหลากหลายชนิด ซึ่งหากจะพูดถึง มะเม่า ก็มีพืชในตระกูลทั้งหมดกว่า 170 ชนิด โดยที่กระจายอยู่ตามป่าเขตร้อนทั้งทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ประเทศออสเตรเลีย และตามเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่สำหรับในประเทศไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 5 สายพันธุ์เท่านั้น

  • มะเม่าหลวง
  • มะเม่าสร้อย
  • มะเม่าไข่ปลา
  • มะเม่าควาย
  • มะเม่าดง

แต่หลักๆเมื่อพูดถึงมะเม่าก็ต้องเป็นพันธุ์มะเม่าหลวงนั่นเอง โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง มะเม่าหลวงภูพาน กัน

มะเม่าหลวงภูพานผลไม้ท้องถิ่นประจำภาคอีสานอีกชนิดหนึ่ง

              ด้วยการที่มะเม่าหลวงภูพาน เกิดขึ้นบนเทือกเขาภูพานในจังหวัดสกลนครนั่นเอง มันจึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ว่ามะเม่าหลวงภูพาน หรือหมากเม่าภูพานพืช โดยมะเม่าจะมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ที่มีอายุยืนยาว สามารถแตกกิ่งก้านได้มาก และกิ่งของต้นก็จะแจกแขนงเป็นพุ่มทรงกลม มีความสูงที่ประมาณ 5-10 เมตร และลักษณะของไม้จะเป็นเนื้อไม้แข็ง สถานที่ขึ้นของต้นมะเม่าที่พบเจอได้มากก็คือตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ ปลายนาทั่วๆ โดยพเจอได้ทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดที่มีต้นมะเม่ามากที่สุดในประเทศไทยก็อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจะมีต้นมะเม่าอยู่ในป่าเป็นจำนวนมาก

จังหวัดสกลนครจังหวัดทางภาคอีสานที่มีต้นมะเม่าขึ้นมากที่สุด

              จังหวัดสกลนครไม่ได้มีดีแค่ข้าวฮาง หรือเนื้อโคขุน ที่เป็นของอร่อยขึ้นชื่อประจำจังหวัดเท่านั้น แต่ที่จังหวัดนี้เขายังมีหมากเม่า หรือมะเม่า ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความอร่อยอีกด้วย โดยหมากเม่า ถือเป็นพืชท้องถิ่นที่พบเห็นได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย แต่หากที่ภาคอีสานแล้วที่โด่งดังและขึ้นชื่อ พบได้มากที่สุด มีชื่อเสียงที่สุดในภาคภาคอีสานก็จะพบได้มาที่จังหวัดสกลครในแถบเทือกเขาภูพาน โดยที่มะเม่าที่ปลูกอยู่ในจังหวัดสกลนคร ได้มีการรับรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ถึงถิ่นกำเนิดทางภูมิศาสตร์ได้ และยังมีสมญานามว่า คือ ทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน

ไม้เศรษฐกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *