มะเม่าหลวงภูพาน ทำความรู้จักผลไม้ให้ประโยชน์มากมาย 1000maidee บทความ

มะเม่าหลวงภูพาน ทำความรู้จักผลไม้ให้ประโยชน์มากมาย

มะเม่าหลวงภูพาน ทำความรู้จักผลไม้ให้ประโยชน์มากมาย

              สมุนผลไม้อย่างมะเม่าที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสายพันธุ์มะขามป้อม ผลไม้สมุนไพรที่มีหลากหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์โดเด่นก็มีอย่าง มะเม่าหลวงภูพาน หรือชาวอีสานเรียกกันว่าหมากเม่า และยังมีสายพันธุ์อื่นๆรวมไปถึงชื่อเรียกทองถิ่นอื่นๆอีกด้วย อาธิเช่น หมากเม้า บ่าเหม้า ภาษาเหนือ, หมากเม่า ภาคอีสาน,  มะเม่า ต้นเม่า ภาคกลาง ฯลฯ และอีกหลากหลายชนิด ซึ่งหากจะพูดถึง มะเม่า ก็มีพืชในตระกูลทั้งหมดกว่า 170 ชนิด โดยที่กระจายอยู่ตามป่าเขตร้อนทั้งทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ประเทศออสเตรเลีย และตามเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่สำหรับในประเทศไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 5 สายพันธุ์เท่านั้น

  • มะเม่าหลวง
  • มะเม่าสร้อย
  • มะเม่าไข่ปลา
  • มะเม่าควาย
  • มะเม่าดง

แต่หลักๆเมื่อพูดถึงมะเม่าก็ต้องเป็นพันธุ์มะเม่าหลวงนั่นเอง โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง มะเม่าหลวงภูพาน กัน

มะเม่าหลวงภูพานผลไม้ท้องถิ่นประจำภาคอีสานอีกชนิดหนึ่ง

              ด้วยการที่มะเม่าหลวงภูพาน เกิดขึ้นบนเทือกเขาภูพานในจังหวัดสกลนครนั่นเอง มันจึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ว่ามะเม่าหลวงภูพาน หรือหมากเม่าภูพานพืช โดยมะเม่าจะมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ที่มีอายุยืนยาว สามารถแตกกิ่งก้านได้มาก และกิ่งของต้นก็จะแจกแขนงเป็นพุ่มทรงกลม มีความสูงที่ประมาณ 5-10 เมตร และลักษณะของไม้จะเป็นเนื้อไม้แข็ง สถานที่ขึ้นของต้นมะเม่าที่พบเจอได้มากก็คือตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ ปลายนาทั่วๆ โดยพเจอได้ทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดที่มีต้นมะเม่ามากที่สุดในประเทศไทยก็อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจะมีต้นมะเม่าอยู่ในป่าเป็นจำนวนมาก

จังหวัดสกลนครจังหวัดทางภาคอีสานที่มีต้นมะเม่าขึ้นมากที่สุด

              จังหวัดสกลนครไม่ได้มีดีแค่ข้าวฮาง หรือเนื้อโคขุน ที่เป็นของอร่อยขึ้นชื่อประจำจังหวัดเท่านั้น แต่ที่จังหวัดนี้เขายังมีหมากเม่า หรือมะเม่า ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความอร่อยอีกด้วย โดยหมากเม่า ถือเป็นพืชท้องถิ่นที่พบเห็นได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย แต่หากที่ภาคอีสานแล้วที่โด่งดังและขึ้นชื่อ พบได้มากที่สุด มีชื่อเสียงที่สุดในภาคภาคอีสานก็จะพบได้มาที่จังหวัดสกลครในแถบเทือกเขาภูพาน โดยที่มะเม่าที่ปลูกอยู่ในจังหวัดสกลนคร ได้มีการรับรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ถึงถิ่นกำเนิดทางภูมิศาสตร์ได้ และยังมีสมญานามว่า คือ ทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน

ไม้เศรษฐกิจ

วิธีดูแลต้นขนุน ขั้นตอนการปลูกเพาะเมล็ดแบบง่ายๆ 1000maidee

วิธีดูแลต้นขนุน ขั้นตอนการปลูกเพาะเมล็ดแบบง่ายๆ

วิธีดูแลต้นขนุน ขั้นตอนการปลูกเพาะเมล็ดแบบง่ายๆ

ต้นขนุน ( ๋Jackfruit ) เป็นไม้ผลเศรษฐกิจ เป็นสายพันธุ์ของต้นมะเดื่อ , วงเดียวกับหม่อนและสาเก ( Moraceae ) ต้นกำเนิดของมันมาจากในประเทศอินเดีย รวมถึงศรีลังกา และป่าฝนของประเทศมาเลเซีย ต้นขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ การตอนกิ่งและทาบกิ่งทำได้ลำบาก การเพาะเมล็ดจึงสะดวกที่สุด

วิธีขยายพันธุ์

วิธีเพาะเมล็ดโดยคัดเมล็ดที่อวบแน่นนำไปแช่น้ำที่ผสมน้ำยาป้องกันเชื้อราประมาณ 10-20 นาที นำดินเพาะที่มาจากการผสมแกลบดำ ทรายหยาบ ดินร่วน ปุ๋ยคอก อัตราส่วน  2:2:1:1 ใส่กระถางเพาะสูงไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว ใส่ถ่านรองก้นกระถางแล้วปูทับด้วยหญ้าหรือใบไม้แห้ง เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี จากนั้นใส่ดินและฝังเมล็ดให้ลึกประมาณ 5 ซม. กลบดินรดน้ำให้ชุ่ม ช่วงแรกคอยรดน้ำไม่ให้ดินแห้งหรือชุ่มจนเกินไป รอจนต้นสูงสัก 5-6 นิ้วค่อยย้ายลงดิน

ขั้นตอนการปลูกและการดูแล

  • หลุมปลูกควรขุดลึกประมาณ 50-100 ซม. ระยะห่างต่อหลุม 8-10 เมตร
  • การเตรียมดินปลูก ถ้าดินไม่สมบูรณ์ควรขุดให้ลึกประมาณ 100 ซม. แล้วนำมาตากไว้ 15-20 วัน หลังจากนั้นนำดินที่ตากมาผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1:1:1 ใส่เศษใบไม้แห้งหรืออินทรียวัตถุผสมลงไปถ้ามี เพื่อเพิ่มความโปร่งและเสริมธาตุอาหารแก่ดิน คลุกทุกอย่างให้เข้ากันแล้วใส่กลับลงไปในหลุมเพื่อหมัก ทิ้งไว้จนดินยุบตัว
  • เมื่อดินยุบตัวลงพร้อมปลูกแล้ว นำต้นกล้าออกจากกระถางแล้วคลี่ราก เมื่อนำต้นกล้าลงดินและกลบเรียบร้อย หาหลักผูกยึดให้ต้นกล้าตั้งตรงแล้วรดน้ำให้ชุ่ม วิธีนี้ใช้ได้กับต้นไม้ทุกต้น

  • ในระยะแรกให้รดน้ำทุกวัน คอยกำจัดวัชพืช จนต้นแข็งแรงตั้งตัวได้ให้ลดเหลือ 3-4 วันต่อครั้ง แต่ถ้าหน้าร้อนให้สังเกตหน้าดินเป็นหลักอย่าให้ดินแห้งเกินไปจนกว่าขนุนจะมีอายุ 1 ปี สามารถทิ้งการรดน้ำได้ถึงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้นก็ได้ เพราะขนุนเป็นต้นไม้ที่ทนทานสภาพแล้ง แต่ถ้าเป็นช่วงติดผลควรรดน้ำทุกวัน
  • การใส่ปุ๋ยสามารถหลีกเลี่ยงเคมีโดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้ ใส่รอบโคนต้น ทุก 1-2 เดือน ปรับสภาพดินด้วยปูนขาว 1 ครั้งต่อปี
  • โรคของขนุนที่พบบ่อยคือโรครา ศัตรูพืชคือหนอนไชลำต้นซึ่งมักจะเจอกับต้นที่อายุมากและเพลี้ยแป้ง ปัญหาทั้งหมดวิธีป้องกันที่เหมือนกันคือไม่ปล่อยให้โคนรก และคอยตัดกิ่งที่แห้งเสียออกไป ให้ต้นโปร่งดีที่สุด และคอยฉีดพ่นยาไล่แมลงสูตรชีวภาพทุกๆ 15 วัน ถ้ามีเวลาให้พ่น 5-7 วัน ถ้ามีผลก็ให้ฉีดที่ผลด้วยแล้วห่อกระดาษจะช่วยให้ไม่มีหนอนหรือแมลงมาไช  ***ขนุนเป็นต้นไม้ที่ให้ผล เราควรหลีกเลี่ยงสารเคมี เพื่อความสบายใจเวลาเก็บผลมารับประทาน

วิธีดูแลต้นไม้

ต้นมะขาม ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะด้วยสรรพคุณ 1000maidee

ต้นมะขาม ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะด้วยสรรพคุณ

ต้นมะขาม ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะด้วยสรรพคุณ

              ต้นมะขาม( Tamarind ) เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์และแน่นอนว่าถือทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะด้วยสรรพคุณของมะขาม และการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆมะขามนั้นมีต้นกำเนิดในแอฟริกาและได้ขยายพันธุ์มายังไทย มะขามเป็นไม้มีค่าทำให้คนทั่วไปนิยมปลูกเพราะสามารถนำไปขายนำไปทำกับข้าวได้ด้วยรสชาติที่หวานมันทำให้กับข้าวน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

ลักษณะพิเศษ

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านมากลำต้นเดี่ยวแข็งและเหนียวเปลือกต้นจะขรุขระและหนามีรอยแตกลึกมีสีน้ำตาลลำต้นสูงโปร่ง ใบประกอบกันเป็นคู่ทรงรีโคนใบจะมนขอบใบเรียบใบสีเขียวผิวเป็นมันเป็นรากแก้วที่แข็งแรงกว้างและหยั่งลึกลักษณะกลมมีรากแตกแขนงเป็นฝอยสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อจะเกาะกลุ่มกัน เป็นดอกสมบูรณ์เพศออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งมีสีขาวอมเหลืองก้านช่อดอกจะยาว ผลจะออกเป็นฝักรูปทรงจะแตกต่างกันไปมีทั้งกลม ตรงและโค้งงอ ผลดิบจะมีเปลือกสีเขียวแต่ถ้าผลสุกเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกหุ้มจะค่อนข้างเปราะบางและแตกได้ง่าย ภายในฝักจะมีเนื้อมะขามสีน้ำตาลแต่จะแยกตัวออกจากฝักและภายในเนื้อจะมีเมล็ดอยู่ เนื้อมีรสชาติหวานหรือเปรี้ยวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เมล็ดภายในฝักจะกลมแบนทรงรีมีสีน้ำตาลเปลือกด้านนอกจะลื่นมันวาวข้างในจะมีร่องเป็นสองซีกสีขาว

การดูแลต้นมะขาม

  • ควรให้น้ำในทุกๆวันในช่วงแรกๆ6เดือนให้หลังก็ปล่อยให้โตเองตามธรรมชาติเลยเพราะเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
  • ควรปลูกในช่วงฤดูฝนเพราะจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เต็มที่และได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในตลอดฤดู
  • ควรตัดกิ่งบ้างถ้าหากปล่อยไว้นานไม่ตัดกิ่งก้านจะยิ่งมากและพันกันรุงรัง
  • เมื่อต้นเล็กควรกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งอาหาร

ประโยชน์ของต้นมะขาม

  • เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียงที่มีคุณภาพได้ดีมากเพราะเป็นไม้ที่เหนียวทน
  • ใบแก่ นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้
  • ฝักดิบเป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ปวด แก้แผลบวม ช่วยลดเหน็บชา ช่วยแก้คออักเสบ ช่วยลดกล้ามเนื้ออักเสบ ช่วยล้างพิษ ช่วยฟอกเลือด ช่วยลดความอ้วน
  • ฝักสุก ช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องผูก
  • เมล็ดจะช่วยขับพยาธิ แก้ท้องเสีย ช่วยสมานแผลอักเสบ แก้เป็นหนอง แก้แผลในปาก

ไม้เศรษฐกิจ