อโลคาเซีย มังกรเงิน ไม้ประดับยอดนิยมตกแต่งบ้านและสวน

อโลคาเซีย มังกรเงิน ไม้ประดับยอดนิยมตกแต่งบ้านและสวน

อโลคาเซีย มังกรเงิน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Alocasia  Baginda Silver Dragon พบได้ในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงแถบตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย  ปัจจุบันได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก  ด้วยความโดดเด่นของใบจึงได้รับความนิยมในการนำมาประดับบ้าน   ซึ่งนิยมนำมาปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อตกแต่งบริเวณบ้านและบริเวณสวน

อโลคาเซียมังกรเงิน ลักษณะของใบมีขนาดใหญ่คล้ายเกล็ดมังกร   ใบจะมีสีเขียวเงินและเส้นกลางใบมีสีเขียวเข้ม   ส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ดินจะเป็นเหง้ายาว   และลำต้นที่โผล่เหนือดินจะเป็นลักษณะซ้อนกันของกาบใบ   เติบโตได้ถึง 1 เมตรเลยทีเดียว และสามารถปลูกในกระถางได้เพราะเป็นต้นที่สวยงามและดูแลง่าย    ชอบแสงแดดรำไรไม่ชอบแสงแดดจัด   ไม่ชอบน้ำ แต่ชอบความชุ่มชื้น   ควรวางในที่อากาศเย็น  และมีอากาศถ่ายเทหรือมีร่มเงา   หากปลูกในร่มเกินไปต้นมักจะโทรม ดูไม่สดชื่น และไม่แข็งแรง  การรดน้ำควรปล่อยให้ดินแห้งแต่ยังแห้งไม่สนิท แล้วจึงค่อยรด  และให้รดน้ำวันเว้นก็เพียงพอหรืออาจจะรด 2 วันครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและเครื่องปลูกด้วย   ถ้าอากาศร้อนมากและเครื่องปลูกแห้งมาก  ก็ควรที่จะรดทั้งเช้า และเย็นได้เลย

อโลคาเซียจะชอบดินร่วนซุยที่ให้ความชุ่มชื้นสูง  แต่ต้องไม่มีน้ำขัง  เพราะอาจจะทำให้รากเน่าได้ง่าย   การใส่ปุ๋ยสามารถใช้ปุ๋ยตามธรรมชาติได้   อย่างเช่น ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยขี้วัว  หรือปุ๋ยละลายช้า  และให้ใส่ในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน  ส่วนถ้าเป็นฤดูแล้งนั้นไม่จำเป็นต้องใส่  การใส่ปุ๋ยก็เพื่อป้องกันหนอนผีเสื้อ ที่มักจะกินก้านและใบรวมถึงเหง้าได้ ซึ่งถ้าเราไม่ดูแลก็อาจจะทำให้ต้นไม้ตายได้เช่นกัน  จึงต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำ   การให้น้ำและสารอาหารควรให้เพียงพอและทั่วถึง  ถ้าต้นนี้ได้รับน้ำและอาหารเพียงพอแล้ว ต้นจะมีขนาดใหญ่หลายเท่าตัวก็จริง แต่ก็ไม่ได้ทำให้มีจำนวนใบหรือหน่อมากตาม   ซึ่งตรงกันข้ามหากเลี้ยงแบบดูแลไม่ดี ให้อดอยากบ้างก็จะทำให้ต้นนั้นแตกหน่อได้ดีกว่า  การใช้เครื่องปลูกสำหรับอโลคาเซีย ส่วนใหญ่มักจะใช้ดินใบก้ามปู   กาบมะพร้าวสับอย่างเดียวหรือจะผสมกับแกลบก็ได้

ส่วนการขยายพันธุ์ของต้น  อโลคาเซียมังกรเงิน  ที่นิยมกันมากคือการใช้วิธีแยกหน่อ   เมื่อต้นเริ่มแตกหน่อแล้ว  ส่วนการปั่นตาจะเป็นอีกวิธีที่ใช้กันสำหรับความต้องการจำนวนมากนั่นเอง    และสุดท้ายการใช้วิธีโดยการตัดเหง้ามาเป็นแว่นๆ เพื่อทำการชำนั้น เป็นวิธีที่ทำได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเน่าและเป็นเชื้อราได้อีกเช่นกัน

 ไม้ประดับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *