พลับพลึงธาร พืชน้ำบอกความสมบรูณของระบบนิเวศ
วันนี้เราจะมาแนะนำ พลับพลึงธาร เป็นพืชที่ทั้งมีความสวยงาม ความแปลกใหม่ และยังมีประโยชน์รวมถึงความสำคัญต่อระบบนิเวศของประเทศไทยเราด้วย ถ้าพูดชื่อนี้หลาย ๆ คนอาจจะเกิดความสงสัย เพราะอาจจะไม่เคยได้ยิน เพราะที่จริงแล้วการเรียก พลับพลึงธาร จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ภาค ประกอบไปด้วย หญ้าช้อง และ หอมน้ำ และต้องบอกก่อนว่าความพิเศษของพืชน้ำชนิดนี้ จะสามารถพบได้ที่จังหวัดระนอง และ จังหวัดพังงา เท่านั้น จึงไม่แปลกเลยที่ถ้าหลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยได้ยิน โดยคนที่จังหวัดระนองและจังหวัดพังงา ก็ให้ความสำคัญและความใส่ใจกับพืชน้ำชนิดนี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเพราะในปัจจุบันนี้มีสถานภาพที่ใกล้สูญพันธุ์ทั้ง ๆ ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยรู้จักด้วยซ้ำ
สำหรับวันนี้เราจึงจะมาแนะนำ พืชน้ำ ชนิดนี้ให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น อย่างที่บอกว่าเป็นพืชน้ำลำต้นของมันจึงจะเป็นลำต้นที่ปักอยู่ใต้ดิน มีจำนวนใบซ้อนกันหลายชั้น สำหรับความสูงของต้นนั้นก็จะขึ้นอยู่กับระดับความลึกของระดับน้ำบริเวณนั้น ๆ สำหรับ ราก จะเป็นลักษณะของรากฝอย ที่จะฝั่งอยู่ในบริเวณของใต้ดิน สำหรับใบของมันจะมีสีเขียวอ่อน แคบ ยาว ปลายใบแหลม โดยจะเรียงตัวกันสวยงามลอยสวยงามอยู่บนผิวน้ำ
และสิ่งที่ทำให้พืชน้ำชนิดนี้มีความสวยงามนั่นก็คือดอก เพราะดอกทุกดอกจะเป็นลักษณะของช่อที่ออกมากจากจุดเดียวกัน ก้านของดอกจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมม่วง ส่วนของดอกจะเป็นสีขาว สวยงามสะอาดตา โดยจะแยกออกจากกันเป็น 6 กลีบ เป็นลักษณะงุ้มปลายสวยงาม และสิ่งที่พิเศษกว่า พืชยืนต้น หรือ พืชประดับ นั่นก็คือ พลับพลึงธาร สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งที แต่ระยะเวลาที่ดอกจะออกเยอะที่สุดก็คือระหว่างปลายปี คือ เดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม
อย่างที่เราได้บอกไปว่า พืชน้ำ ชนิดนี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เพราะจะเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบรูณของแหล่งน้ำ ส่วนมากมักจะขึ้นอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่มีความอุดมสมบรูณและใสสะอาด โดยจะสามารถเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย โดยปัจจัยที่ทำให้ใกล้สูณพันธุ์นั่นก็เพราะการคุมคามของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การลอกคลอง การเปลี่ยนทิศทางไหนของแหล่งน้ำ การทิ้งขยะลงที่คลอง หรือ แม้กระทั่งการตกปลา ต้องบอกเลยว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงและสำคัญทั้งหมด จึงอยากจะรณรงค์ให้ทุก ๆ คน เห็นความสำคัญของ พลับพลึงธาร ให้มากขึ้น