นางพญาเสือโคร่ง ไม้ดอกบานสะพรั่งซากุระแห่งเมืองไทย
ต้นที่เรียกได้ว่าเป็นต้นซากุระแห่งเมืองไทยทุกคนคงจะรู้จักต้นนี้กันเป็นอย่างดีเพราะด้วยความสวยงามและบานสะพรั่งเหมือนต้นซากุระนั่นคือ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ( Wild Himalayan Cherry, Sour cherry ) นั่นเองจะนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพราะมีความสีสันสวยงามมีหลากสีแถมดอกยังสามารถทานได้อีกด้วยแต่เปรี้ยวจึงไม่ค่อยนิยมกันแต่ทั้งสองจะต่างกันตรงที่ช่วงเวลาในการออกดอกต้นนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกเดือนธันวาคมแต่ต้นซากุระจะออกดอกช่วงเดือนมีนาคมทำให้ต้นนางพญาเสือโคร่งมีชื่อเรียกว่า“ซากุระเมืองไทย”ในไทยจะขึ้นตามภูเขาสูงส่วนมากอยู่ทางภาคเหนือของไทยเช่น บนดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์
ลักษณะพิเศษ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ15เมตรเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลปนแดงผิวบางหลุดออกง่ายบริเวณกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนบางๆอยู่ ใบเดี่ยวรูปวงรีออกเรียงสลับกันโคนใบกลมและปลายใบแหลมขอบใบหยักคล้ายกับฟันเลื่อยใบกว้าง5เซนติเมตรยาวประมาณ12เซนติเมตร ต้นอ่อนผิวใบจะย่นมีสีเขียวอมเหลืองหรืออมส้ม เมื่อแก่จะย่นน้อยลงมีสีเขียวจัดใบจะร่วงได้ง่าย ออกดอกเป็นกระจุกที่ใบและปลายกิ่งดอกย่อยสีเขียวทรงกลมกลีบสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีชมพูแดง สีแดง หรือสีขาวแต่สีขาวจะหาได้ยากโคนติดกันปลายแยกเป็นแฉกแหลม ดอกออกหลังจะต้นทิ้งใบแล้ว ออกผลเป็นรูปวงรีมีสีแดงคล้ายลูกเชอร์รี่
การดูแลต้นนางพญาเสือโคร่ง
- ดูแลบริเวณที่ปลูกไม่ให้มีน้ำขังไม่อย่างนั้นรากจะเน่าตาย
- ปลูกและเจริญเติบโตได้ดีบริเวณภูเขาทางลาดชันเพราะเมื่อฝนตกน้ำไหลสะดวกไม่ท่วมขัง
- หน้าฝนไม่ต้องรดน้ำแต่หากไม่มีฝนตกให้รดน้ำประมาณ3วัน/ครั้ง
- ต้นนางพญาเสือโคร่งจะชอบปุ๋ยขี้ไก่ถ้าเป็นการปลูกครั้งแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ย2เดือนจากนั้นให้ใส่เดือนละครั้ง
- หมั่นรดน้ำบ่อยๆต้นนี้จะชอบน้ำมากแต่พยายามอย่าปล่อยให้น้ำขัง
ประโยชน์ของต้นนางพญาเสือโคร่ง
- เปลือกลำต้นสามารถนำมาขับลมในลำไส้ได้
- เมื่อนำรากมาตำหรือบดสามารถใช้เป็นยาพอกแก้รอยฟกช้ำ ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ และสามารถคั้นน้ำมาหยอดจมูกแก้เลือดกำเดาและดื่มเป็นยาแก้ไอ
- น้ำจากเมล็ดสามารถแก้โรคนิ่วได้
- กิ่งและใบสามารถนำมาทำเป็นยาทำแท้งได้
- เปลือกต้นช่วยในการชำระล้างไตให้สะอาด
- เปลือกต้นสามารถนำมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหยได้จะทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง