กันเกรา ไม้สมุนไพร สัญลักษณ์ประจำมหาลัยอุบลราชธานี
สำหรับใครที่ชอบ ปลูกต้นไม้ ก็คงจะรู้ว่าการที่เรา ปลูกต้นไม้ มันให้ประโยชน์หลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่ลดโลกร้อนอย่างเดียว แต่มันจะเป็นเหมือนกับธรรมชาติบำบัด ที่ทำให้เรามีสุขภาพดี แข็งแรง ระหว่างที่เราทำการรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยก็เหมือนกับการที่เราได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย และอีกหนึ่งต้นไม้ ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก นั่นก็คือต้น กันเกรา
ต้น กันเกรา ( Tembusu ) หรือชื่ออื่น ๆ อย่าง มันปลา, ตำแสง, ตำเสสา, ตาเตรา และ ตะมะซู เป็นต้น ก็ขึ้นอยู่กับชื่อเรียกของแต่ละภูมิภาค อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักมากในปัจจุบัน โดยต้นกันเกรานั้น ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพราะเมื่อต้นได้มีการโตเต็มที่แล้วจะสามารถสูงได้มากที่สุดประมาณ 15 – 20 เมตร ส่วนลำต้นจะเป็นลักษณะทรงตรงสูง เปลืองต้นทั้งต้นจะเป็นสีน้ำตาล เป็นลักษณะผิวเรียบมันแต่ถ้าลำต้นแก่ ก็จะมีการแตกร่องยาว ลึก เป็นช่วง ๆ แต่ยิ่งแก่ก็ยิ่งมีความแข็งแรง คงทน และสามารถแตกกิ่งก้านแผ่ขยายได้เหมือนเดิม
ส่วนใบของต้นกันเกรา จะเป็นใบเดี่ยว ส่วนมากใบจะออกแน่หนาที่สุดตรงบริเวณปลายยอด เป็นรูปวงรี มีสีเขียวเข้มสามารถมองเห็นแขนงได้แบบอ่อน ๆ ฐานใบมน ปลายจะมีความแหลม โดยขนาดของใบจะกว้างประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร และยาว ประมาณ 8- 12 เซนติเมตร นอกจากนี้ในส่วนของดอก จะออกเป็นช่อในลักษณะกระจุกกัน และมักจะขึ้นตามซอกใบหรือตามกิ่งก้านต่าง ๆ ดอกจะมีสีขาวและสีเหลืองอ่อน ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน มีขนาดประมาณยาว 4 – 12 เซนติเมตร และก้านช่อยาว 3 – 6.5 เซนติเมตร เมื่อดอกเริ่มบานจะเป็นสีขาว แต่ถ้าต้นไหนที่โตเต็มที่แล้วเราจะเห็นว่าดอกเป็นสีเหลืองเข้ม แต่ในปัจจุบันเราอาจจะไม่ค่อยได้พบต้น กันเกรา ตามทั่วไปกันสักเท่าไหร่ เพราะมักจะพบตาม ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง และ ป่าเต็งรัง นอกจากเราจะ ปลูกต้นไม้ กันเกรา ไว้ที่บ้าน
นอกจากนี้การ ปลูกต้นไม้ กันเกรา ไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และยังเป็นหนึ่งในพรรณไม้มงคลที่ปลูกแล้วดีอีกด้วย ต้นกันเกราเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะมีชื่อที่เป็นมงคล เพราะกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายแก่คนที่ปลูก และนอกจากนี้ยังมีความสวยงามและดอกของต้นก็ส่งกลิ่นหอมสดชื่น ยังสามารถปลูกได้ง่ายแข็งแรงทนทาน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือในที่สาธารณะ และเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิดของไทยเรา ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมในตอนก่อสร้างบ้านเรือนเพื่อความเป็นสิริมงคล กันเกรา ไม้สมุนไพร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี